สังคมมนุษย์
ประเภทของสัตว์ทางสังคมวิทยา แบ่งออกได้เป็น 2 ประเภทใหญ่ ๆ คือ- สัตว์สังคม เป็นสัตว์ที่อยู่ร่วมกันเป็นกลุ่ม เพื่อช่วยเหลือพึ่งพาอาศัยกันและกัน เช่น ผึ้ง แตน ต่อ ช้าง เป็นต้น
- สัตว์โลก เป็นสัตว์ที่ดำรงชีวิตอยู่ตามลำพังได้โดยไม่ต้องอยู่รวมกันเป็นกุล่มก็ได้ เช่น จระเข้ แมว สุนัข แรด เป็นต้น
1. อยู่ร่วมกันเป็นกลุ่ม
2. มีการพึ่งพาอาศัยซึ่งกันและกัน
3. มีความสัมพันธ์กันทางสังคม
4. มีการจัดระเบียบทางสังคม
ลักษณะพื้นฐานทางสังคม
สังคมมนุษย์หรือสังคมสัตว์จะมีลักษณะพื้นฐานร่วมกัน คือ
- ระดับความสัมพันธ์ ต้องมีความสัมพันธ์ระหว่างหน่วยงานต่าง ๆ ที่มาอยู่ร่วมกันสูงกว่าการมารวมเป็นกลุ่ม เฉย ๆ
- หน่วยที่มารวมตัวกันต้องเป็นอิสระแยกอยู่ต่างหากจากกัน
- มีมันสมองขนาดใหญ่สามารถใช้สมองได้ดีกว่า มีสติปัญญาสูงและเฉลียวฉลาดกว่าสัตว์ เช่น มีการทดสอบข้อเท็จจริง มีการตั้งโจทย์ปัญหา มีการศึกษาค้นคว้า เป็นต้น
- มนุษย์สามารถสร้างและใช้สัญลักษณ์ต่าง ๆ ได้ดี เช่น ภาษา ท่าทาง กริยา เครื่องหมายต่าง ๆ ทำให้สามารถ มนุษย์ถ่ายทอดลักษณะวัฒนธรรมต่อกันได้อย่างกว้างขวาง
- มนุษย์มีพฤติกรรมที่เกิดขึ้นจากสังคมและวัฒนธรรม ทำให้สังคมมนุษย์มีความเป็นระเบียบและสามารถสร้างความ เจริญก้าวหน้าให้สังคมได้
1. มีมันสมองขนาดใหญ่ ทำให้มีสติปัญญาเฉลียวฉลาด
2. มีร่างกายตั้งตรงกับพื้นโลก สามารถใช้มือได้อย่างมีประสิทธิภาพ
3. มีหัวแม่มืออยู่ตรงข้ามกับนิ้วอื่น ๆ และไม่ติดกัน
4. มีดวงตาอยู่ด้านหน้า สามารถมองเห็นสิ่งต่าง ๆ ได้ดี
5. มีความต้องการทางเพศไม่จำกัดฤดูกาล
6. มีระบบประสาทที่สลับซับซ้อน
สังคม หมายถึง กลุ่มของสิ่งมีชีวิตที่มาอยู่รวมกันโดยมีความสัมพันธ์กันในลักษณะคงทนถาวร
สังคมมนุษย์ หมายถึง กลุ่มชนที่อาศัยอยู่ร่วมกันในดินแดนหนึ่ง มีความสัมพันธ์กันภายใต้ระเบียบและกฎ เกณฑ์เดียวกัน มีลักษณะวัฒนธรรมเหมือนกัน
ลักษณะที่สำคัญของสังคม
1. มีอาณาเขต บริเวณที่อยู่อาศัยที่แน่นอน
2. ประกอบด้วยกลุ่มคนที่อยู่ร่วมกันอย่างถาวรทุกเพศทุกวัย
3. มีความสัมพันธ์ทางสังคม และพึ่งพาอาศัยกัน
4. เป็นกลุ่มคนที่มีอิสระในการประกอบอาชีพและเลี้ยงตัวเองได้
5. กลุ่มดำเนินไปเรื่อย ๆ ดำรงอยู่และสืบทอดโดยอนุชนรุ่นหลัง
6. มีวัฒนธรรมหรือวิถีชีวิตเด่นชัดเป็นของตนเอง
สาเหตุที่มนุษย์อยู่ร่วมกันเป็นสังคม
1. เพื่อสนองความต้องการพื้นฐาน ได้แก่
- ความต้องการทางกายภาพ เช่น ต้องการสิ่งอำนวยความสะดวกสบายในการดำรงชีวิต
- ความต้องการทางชีวภาพ เช่น อาหาร เครื่องนุ่งห่ม ที่อยู่อาศัย ยารักษาโรค
- ความต้องการทางจิตใจ เช่น ความรัก ความอบอุ่น
- ความต้องการทางสังคม เช่น ต้องการเป็นที่ยอมรับของคนในสังคม อันทำให้เกิดอำนาจ เกียรติยศชื่อเสียง
2. เพื่อทำให้มีความเป็นมนุษย์สมบูรณ์
3. เพื่อสร้างความเจริญให้กับตนเองและสังคม
หน้าที่ของสังคมมนุษย์
1. ผลิตสมาชิกใหม่และทำนุบำรุงสมาชิกเก่า
2. ผลิตสินค้าและบริการเพื่อสนองความต้องการ
3. อบรมสมาชิกให้เรียนรู้ระเบียบกฎเกณฑ์ของสังคม
ลักษณะที่มนุษย์เหมือนกับสัตว์อื่น
1. ต้องอาศัยสิ่งแวดล้อมทั้งทางชีวภาพ และทางธรรมชาติเพื่อบำบัดความต้องการต่าง ๆ
2. มีลักษณะคล้ายผู้ให้กำเนิดหรือบรรพบุรุษ
3. สามารถปรับตัวเข้ากับสิ่งแวดล้อมได้ ผู้ที่ปรับตัวไม่ได้จึงมักเสียเปรียบ
4. มีความสามารถแสวงหา หรือค้นคว้าวิธีการต่อสู้เพื่อให้ได้ในสิ่งที่ตนต้องการ
5. ต้องการอาหาร น้ำ อากาศ และที่อยู่อาศัย
6. มีความสามารถในการสืบพันธ์ หรือสร้างสมาชิกใหม่
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น